วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

les fêtes françaises

les fêtes françaises
1.  Le Nouvel An : (le 31 décembre- le 1er janvier) 
     A minuit du 31 décembre, on réveillonne, on s’embrasse et on prononce 
les voeux traditionnels  “ Bonne et heureuse année.” On donne des étrennes aux enfants.
2.  L’Epiphanie / la fête des rois  : (le 6 janvier) 
   On mange une galette des rois où on cache “la fève” dans sa pâte. Celui qui trouve la fève devient roi ou reine de la fête.
3.  La Chandeleur : (le 2 février) 
    La fête de la vierge quelques semaines après la naissance de l’Enfant Jésus.Aujourd’hui le nom est resté mais la tradition a changé. A la maison, on fait des crêpes qu’on doit faire sauter en l’air d’un habile “coup de poêle”
4.  Mardi Gras : (40 jours avant Pâques) 
     On se déguise. C’est époque des défilés du carnaval. C’est aussi la période des vacances d’hiver.
5.  La Sainte Valentin : (le 14 février)
     La fête des amoureux, on offre des fleurs et on envoie des cartes“ Vive St Valentin ! ”
6.  Pâques : (entre le 22 mars et le 25 avril)
     Pour les chrétiens, la résurrection du Christ, on offre des oeufs en chocolat ou en sucre aux enfants. 
Les cloches des églises sonnent partout.
Joyeuses Pâques !
7.  Le premier mai : (le 1er mai) 
     C’est la fête de travail. On offre aux amis une branche ou un brin de muguet qui est symbole du bonheur.
8.  L’Ascension : (40 jours après Pâques)
     On célèbre la montée au ciel du Christ.
9.  La Pentecôte : (10 jours après l’Ascension) 
     On célèbre le septième dimanche après Pâques, la descente de l’Esprit-Saint sur les apôtres.
10. La Fête des Mères ; (le dernier dimanche de mai) 
     87 % des foyers français la célèbrent. 83% se déclarent très attachés à cet événement
11. La Fête Nationale : (le 14 juillet) 
     Le 14 juillet célèbre la prise de la Bastille par le peuple de Paris en 1789. La Bastille était une prison devenue le symbole du pouvoir monarchique absolu.Cet événement marque le début de la Révolution française.Il y a des défilés militaires le matin, des feux d’artifices le soir. On décore les fenêtres de drapeaux. On danse sur les places publiques.
12. L’Assomption : (le 15 août) 
     La fête de la Mère du Christ, la Vierge Marie.
13. La Toussain : (le 1er novembre)          
     C’est la fête de tous les saints. Les français vont au cimetière pour Fleurir la tombe de leurs morts. On vend des chrysanthèmes, la fleurs des cimetières .
14. L’Anniversaire de armistrice de 1918 : (le 11 novembre) 
     Le Président de la République dépose une couronne sur la tombe du soldat inconnu sous l’Arc de Triomphe de l’Etoile.
15. Noël : (le 25 décembre) 
     La commémoration de la naissance du Christe.C’est le début des fêtes de fin de l’année. Dans la nuit de 24 au 25, les enfants placent leurs chaussures devant la cheminée. Le “Père Noël” va y mettre des cadeaux pendant la nuit. On fait aussi le réveillon.

วันสำคัญของฝรั่งเศส

วันสำคัญของฝรั่งเศส
    แม้ว่าฝรั่งเศสจะเป็นรัฐฆราวาส แต่วันสำคัญต่าง ๆ กลับเกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ อาจด้วยเหตุบังเอิญว่าวันต่าง ๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่ตรงกับวันอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาคริสต์
วันขึ้นปีใหม่ (Jour de l’an) 1 มกราคม วันนักขัตฤกษ์ ตรงกับวันแรก
ของปีตามตารางปฎิทินสากล ในประเทศฝรั่งเศส

วันขึ้นปีใหม่ 
     10 มกราคมนี้เริ่มกำหนดใช้ในปี ค.ศ. 1564 และ วันที่ 31 ธันวาคมถือว่าเป็นการฉลองคืนส่งท้าย 
ปีเก่าเพื่อต้อนรับขึ้นวันปีใหม่ด้วย ในวันขึ้นปีใหม่นี้ ถือเป็นโอกาสที่จะให้ของขวัญ (เงิน) กับเด็ก ๆ 

เอพิพานี (Epiphanie) 
     เทศกาลของชาวคริสเตียน ในโบสถ์ละติน เป็นการฉลองการมาเยี่ยม พระเยซูของ Rois mages โดยธรรมเนียม มีการทานขนมหวาน เค้ก (รูปทรงมงกุฎในทางตอนใต้) หรือ กาแลตดูครัว (ทางเหนือของฝรั่งเศส) จัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกของเดือนมกราคม 

ชองเดอเลอ (Chandeleur) 
   2 กุมภาพันธุ์ วันทางศาสนาของชาวคริสเตียน แรกเริ่มมาจาก เทศกาลแสงไฟ ในปี ค.ศ. 472 เทศกาลนี้ได้กลายเป็นการเฉลิมฉลองการเป็นตัวแทนของ พระเยซูภายในโบสถ์ตามธรรมเนียมมีการทำขนมเครป แล้วโยนขึ้นกลับด้านโดยกำเงินไว้ในมือ อีกข้างเพื่อถือเป็นการนำโชคดีมาสู่ตัวผู้โยน 

มาร์ดี-กรา (Mardi-gras) 
     เทศกาลของชาวคาทอลิก เมื่อวันสิ้นสุด 7 วันหลังเทศกาลงานรื่นเริง (ซึ่งผ่านมื้ออาหารกันมาตลอดสัปดาห์) วันนี้กำหนดขึ้น 47 วันก่อนเทศกาลอีสเตอร์ และเป็นการ เริ่มต้นของกาเรม (เทศกาลถือศีลอด) สัญลักษณ์ของเทศกาลนี้คืองานกานาวาล (ซึ่งมีความหมายถึงการเอาเนิ้อออก หรือการเริ่มต้นการถือศีล) ตามธรรมเนียมต้องการให้ชาวบ้านแต่งตัวหลากหลายในวันนั้น (ในทุกวันนี้กลายเป็นเด็ก ๆ ) ในบางหมู่บ้านมีการเผาตุ๊กตากานาวาลในวันงานด้วย 

Mercredi des Cendres 
     เทศกาลของชาวคาทอลิก เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นเทศกาลถือศีลอด เป็นสัญลักษณ์ให้เตือนถึงการตาย 

อาทิตย์แรกของเทศกาลศีลอด (1er dimanche de Carême) ไม่มีกิจกรรมใด ๆ พิเศษ 
พฤหัสบดีกลางเทศกาลศีลอด (Jeudi de la Mi-cerême) เป็นสัญลักษณ์ครึ่งนึงของช่วง 
เทศกาลถือศีลอดที่มี 40 วัน(โดยไม่นับวันอาทิตย์) ตรงกับวันพฤหัสบดีของอาทิตย์ที่ 3 ของตลอดระยะเวลาเทศกาลถือศีล เป็นการพักของช่วงการถือศีล ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยฉลองกันนัก 

Dimanche des Rameaux
      รำลึกการเดินทางถึงนครเยรูซาเลมของพระเยซู และความรักของ พระเยซุคริสต์และการเสียชีวิตบนไม้กางเขน 

วันอาทิตย์อีสเตอร์ (Dimanche de Pâques) 
     3 วันหลังจากวันสิ้นชีพของพระเยซุ พระเยซูได้ 
ฟิ้นคืนชีพ เทศกาลอีสเตอร์เป็นวันสำคัญที่สุดของปฎิทินชาวคริสต์ เป็นสัญลักษณ์ของวันสิ้นสุด
ของเทศกาลถือศีลอด วันอีสเตอร์สอดคล้องกับวันอาทิตย์แรกต่อจากวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูใบไม้ผลิ ชาวคริสต์ต้องหยุดงานเพือ่ไปสวดมิซซา ในวันนี้พระสันตปะปาจะประทานพรในฝรั่งเศสตามธรรมเนียมทำการมอบไข่ (ชอกโกแลต) หรือของประดับธรรมเนียมอิ่น ๆเกี่ยวกับอาหาร : ทานแกะ 

วันจันทร์อีสเตอร์ (Lundi de Pâque)
     ในยุคกลางตลอดสัปดาห์หลังเทศการอีสเตอร์เป็นสัปดาห์นักขัตฤกษ์ ในปัจจุบันเหลือลงเพียงวันจันทร์ และไม่ใช่งานฉลองที่เคยทำอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีของฝรั่งเศสไม่มีการฉลองเป็นพิเศษ 

วันนำสาร (Annonciation) 
     25 มีนาคม ตามศาสนาคริสต์ เทวดากาเบรียล นำสารมาบอกมารีถึงการตั้งครรภ์พระเยซู 9 เดือนก่อนวันคริสต์มาสถือได้ว่าเป็นวันจุติของพระเยซู 

วันรำลึกการถูกคุมตัว(Souvenir déportés)
     เป็นวันระลึกถึง 150000 ฝรั่งเศสที่ถูกนำตัวไปเข้าค่ายกักกันของนาซี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วันรำลึกนี้จัดอยู่ในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายนวันรำลึกนี้จัดอยู่ในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายน 

วันแรงงาน ( Fête du travail) 
     1 พฤาภาคม เป็นธรรมเนียมของผู้ใช้แรงงานในการต่อสู้ที่มีอยู่ทั่วโลก ในประเทศส่วนใหญ่จัดเป็นวันหยุดประจำปี ประเทศฝรั่งเศสเริ่มต้นในปี 1919 และในปี 1947 เป็นวันหยุดเต็มวันโดยได้รับค่าแรงด้วย ในวันนี้สหภาพแรงงานต่าง ๆ จะเดินขบวนกันตามเมืองต่าง ๆ ของประเทศ และมีการมอบช่อดอกมูเก้ด้วย 

วันกลับคืนสู่สวรรค์ (Jeudi de l’Ascension) 
     เป็นการฉลอง 39 วันหลังจากเทศกาลอีสเตอร์ หลังจากลงมาเผยแพร่คำสอน พระเยซุก็ได้เสด็จกลับขึ้นสวรรค์์ 

วันฉลองชัยชนะ (Victoire 1945) 
     ชัยชนะทีมีต่อเยอรมันในยุคการครอบครองโดยทหารนาซี สันติภาพได้กลับคืนสู่ทวีปยุโรป โดยสัญญาสงบศึกที่ทำขึ้นในวันที 8 พฤษภาคม 1945 เวลาประมาณเที่ยงคืน โดยมีนายพลโซเวียต Jpukov ฝ่ายนาซี Keitel ผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และนายพล de Lattre ของฝรั่งเศส เป็นวันนักขัตฤกษ์ตั้งแต่ปี 1953 แต่ได้ถูกยกเลิกไปในสมัย V.Giscard d’Estaing และได้กลับมากำหนดใหม่ในยุคของ F.Mitterrand 1 มิถุนายน 1981 

วันอาทิตย์ปงโตโค๊ต (Dimanche de Pentecôte)
     เป็นวันเทศกาลของชาวคริสต์ กำหนดขึ้น7 อาทิตย์หลังเทศกาลอีสเตอร์ เพื่อรำลึกถึงวิญญาณศักด์สิทธิ์ที่ลงมาจาก... 

ทรินิเต้ (Trinité) 
     วันเทศกาลของชาวคริสต์ อาทิตย์ที่ 8 หลังจากเทศกาลอีสเตอร์ ปัจจุบันไม่ค่อยมีการเฉลิมฉลองมากนัก ในศาสนาคริสต์ ทรินิเต้เป็นการกล่าวถึงพระเจ้าใน 3 บุคคล พระบิดา บุตร และพระจิต 

วันพระเจ้า (Fête Dieu)
    ฉลองในวันพฤหัสบดีถัดจากวันทรินิเต้ (หรืออาจวันอาทิตย์ขึ้นอยู่กับทางปฎิบัติ) ฉลองถึงความเสียสละของพระคริสต์ โดยมีการแบ่งขนมปัง 

วันแม่ (Fête des mères)กำหนดเป็นทางการในปี 1928 กำหนดไว้ในวันอาทิตย์สุดท้ายของ
เดือนพฤษภาคม (หรือกรณีพิเศษเลื่อ่นไปในเดือนมิถุนายนหากชนกับปงโดโค๊ต) ในปัจจุบัน 
กลายเป็นการค้าและเป็นวันที่ชื่นชอบของเด็ก ๆ 

วันพ่อ (Fête des pères)
      เช่นเดียวกับวันแม่ แต่มีกำหนดขึ้นเป็นทางการในปี 1952 

วันชาติ (Fête Nationale)
      รำลึกถึงวันแห่งการปฎิวัติของฝรั่งเศส 1789 โดยเฉพาะการทำลายคุกบาสตีล ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1978 คุกบาสตีลเป็นคุกสำคัญของปารีส และเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 ชาวกรุงปารีสได้ทำการเผาและเข้ายึดคุก การเข้ายึดคุกบาสตีลนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศส 

วันอัสสัมซิยง (Assomption) 
     15 สิงหาคม วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกที่ทำการฉลองในการที่พระแม่มารีขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เป็นวันสำคัญกลางฤดูร้อนมีการ........ 

Croix glorieuse
     14 กันยายน กำหนดโดยจักรพรรคดิ์กองสตองแตง ในปี ค.ศ. 335 ในปัจจุบันมีการฉลองในวันนี้ไม่มากนัก 

ตุสแซง (Toussaint) 
    1 พฤศจิกายน วันทางศาสนาของชาวคาทอลิก ในการเฉลิมฉลองให้กับทุกนักบุญโดยโบสถ์โรมัน ในวันนี้ได้กลายเป็นวันเยี่ยมหลุมฝังศพ เพือ่วางดอกไม้กับผู้เสียชีวิตไปแล้ว และดอกคริสซองแตม 

เดฟัน (Défunts)
     2 พฤศจิกายน ในฝรั่งเศสรวมกันกับวันหยุดตุสแซง วันสิ้นสุดสงคราวโลกครั้งที่ 1 (Armistice 1918) 11 พฤศจิกายน 1918 รำลึกถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีการเซ็นสัญญายุติสงครามมที่ Rethondes ป่า Compiège (Oise) 

Christ Roi 
     วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกอาทิตย์สุดท้ายของปี 5 อาทิตย์ก่อนคริสต์มาส Avent ช่วงเวลาหลังจากคริสต์มาส ระหว่าง 3-4 สัปดาห์ 

คริสต์มาส (Noël) 
    เป็นเทศกาลการเกิดของพระเยซูคริสต์ มีการกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 354 โดยสันตปะปา Libère มีการประดับตกแต่งในวันที่ 24 ธันวาคมตอนเย็น ด้วยต้นสน คอกเด็ก ของขวัญ และทานอาหรระหว่างครอบครัว เทศกาลนี้ยังกลายเป็นสัญสักษณ์การทำค้าขาย อย่างมหาศาล 

วันครอบครัว (Saint famille)
     ต่อจากคริสต์มาส (อาทิตย์หรือศุกร์ถัดไปหากวันคริสต์มาส ตรงกับวันอาทิตย์)เป็นการสร้างครอบครัวโดยเยซูและมีบุพการีคือ มารีและโยเซพ

คำศัพท์น่ารู้

- varier (v.) = แตกต่าง, หลากหลาย
- selon (prép) = ตาม, สอดคล้องกับ
- (s') adresser = พูด, กล่าว, แสดง, ส่ง
- voeu(x) (n.m.) = คำอวยพร, ความปรารถนา
- gui (n.m.) = เถาวัลย์ไม้ชนิดหนึ่ง
- accrocher (v.) = แขวนไว้, เกี่ยวไว้กับ
- porter bonheur (v.) = นำความสุขหรือโชคมาให้
- galette (n.f.) = ขนมชนิดหนึ่ง นิยมรับประทานกันในเทศกาล fête des rois
- contenir (v.) = ประกอบไปด้วย, บรรจุ
- fève (n.f.) = เมล็ดถั่ว
- bander (v.) = ปิด, คาดด้วยแถบผ้า...
- avaler (v.) = กลืน
- couronner (v.) = สวมมงกุฎ

- fin / fine (adj.) = บาง, ละเอียด, ประณีต
- doré (adj.) = ที่เป็นสีทอง
- regard (n.m.) = สายตา, การมอง
- admiratif / admirative (adj.) = ที่ชื่นชม / admirer (v.) = ชื่นชม, ชื่นชอบ
- sauter (v.) = กระโดด, โยนให้ลอยขึ้นไป
- carnaval (n.m) = งานคาร์นาวัล
- précéder (v.) = นำ, นำหน้ามา
- carême (n.m.) = การถือศิลอด
- jeûne n.m) = การงดอาหาร
- pratiquant (adj. et n.) = บุคคลที่เคร่ง, ที่ฝึกปฎิบัติ
- se déguiser (v.) = แปลงโฉม, แปลงร่าง, อำพรางกาย
- amoureux (adj. et n.) = ที่มีความรัก, คนที่มีความรัก
- comémorer (v.) = ระลึกถีง
- résurrection (n.f.) = การฟื้นคืนชีพ
- déposer (v.) = วางไว้, ปล่อยไว้
- survoler (v.) = บินเหนือ
- farce (n.f.) = เรื่องตลก, เรื่องหยอกล้อ [= blague]
- impôt (n.m.) = ภาษีรายได้
- tache (n.f.) = รอยเปื้อน
- Poisson d'avril ! poisson d'avril ! [ใช้พูดเมื่อเราอำหรือหรอกใครได้เป็นผลสำเร็จ = April Fool !]
- muguet (n.m.) = ดอกไม้ชนิดหนึ่งมีสีขาวและกลิ่นหอม มีลักษณะเป็นรูปทรงกระดิ่งเล็ก
- tellement (adv.) = มาก, มากเหลือเกิน
- sentir bon (mauvais) = มีกลิ่นหอม (เหม็น)
- brin (n.m.) = กิ่งเล็กๆ
- jouer aux boules = เล่นกีฬาเปตอง (=faire une partie de pétanque)
- reprendre le chemin de ... = กลับ (มาทำงาน, มาโรงเรียน ...)
- manifestation (n.f.) = การแสดงออก
- spontané (adj.) = (ในที่นี้ = การแสดง) สด, ปัจจุบันทันด่วน
- organisé (adj.) = (ในที่นี้ = การแสดง) ที่จัดหรือเตรียมการ
- autour (prép.) = รอบๆ, (ในที่นี้ = เกี่ยวกับ)
- veille (n.f.) = วันก่อนหน้า(วันงานหรือเทศกาล)
- feu(x) d'artifice (n.m) = พลุ, ดอกไม้ไฟ
- lendemain (n.m.) = วันรุ่งขึ้น (วันหลังจากงานหรือเทศกาล)
- applaudir (v.) = ปรบมือ

การแสดงความรู้สึกทางสีหน้า

ประเทศในตะวันออกกลาง

ประเทศในตะวันออกกลาง



ประเทศในตะวันออกกลาง
บาห์เรน                            เมืองหลวงคือ มานามา
อียิปต์                               เมืองหลวงคือ ไคโร
อิหร่าน                             เมืองหลวงคือ เตหะราน
ตุรกี                                  เมืองหลวงคือ อังการา
อิรัก                                  เมืองหลวงคือ แบกแดด
อิสราเอล                         เมืองหลวงคือ เยรูซาเล็ม
จอร์แดน                          เมืองหลวงคือ อัมมาน
คูเวต                               เมืองหลวงคือ คูเวตซิตี้
เลบานอน                        เมืองหลวงคือ เบรุต
โอมาน                            เมืองหลวงคือ มัสกัต
กาตาร์                             เมืองหลวงคือ โดฮา
ซาอุดีอาระเบีย                เมืองหลวงคือ ริยาด
ซีเรีย                                เมืองหลวงคือ ดามัสกัส
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์     เมืองหลวงคือ อาบูดาบี
เยเมน                              เมืองหลวงคือ ซานา
และดินแดนปาเลสไตน์ (เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา)

สถานที่ท่องเที่ยวในฝรั่งเศส

การท่องเที่ยวประเทศฝรั่งเศส (France) หรือ สาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Republic) คืออีกหนึ่งประเทศท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางด้านการท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ที่ประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษ และทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีกรุงปารีสเป็นเมืองหลวงของประเทศ 

 



มหานครปารีส 

     การท่องเที่ยวปารีส หรือ มหานครปารีส (Paris) เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้นๆของทวีปยุโรป จนมีคำกล่าวที่ว่าถ้าจะไปเที่ยวฝรั่งเศสก็ต้อง ไปปารีสนั่นเอง กรุงปารีส ตั้งอยู่บนแม่น้ำแซน บริเวณตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส บนใจกลางแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ (Ile de France) แคว้นที่ตั้งอยู่บริเวณกลาง ประเทศเยื้องไปทางทางทิศเหนือ


 


 



มหานครปารีส 

     กรุงปารีส คือหนึ่งเมืองที่องค์การยูเนสโก (Unesco) ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกในปี 1991 นอกจากนี้แล้วกรุงปารีสยังเป็นเมืองที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น เมืองหลวงแห่งแฟชั่นของประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย สำหรับการท่องเที่ยวในกรุงปารีสนั้น สถานที่ท่องเที่ยวในปารีสแห่งแรกที่อยากแนะนำให้คุณไปเยือน คือ หอไอเฟล (Eiffel Tower) สัญลักษณ์ของฝรั่งเศส เป็นหอคอยโครงสร้างเหล็กที่ตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ (Champ de Mars) บริเวณแม่น้ำแซน 


 



หอไอเฟล

     หอไอเฟล มีความสูง ประมาณ 300 เมตร (986 ฟุต) ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร (72 ฟุต) ถูกสร้างขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2430 - พ.ศ. 2432 (2 ปี 2 เดือน 5 วัน) ปัจจุบันถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียง ทั้งยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส และเป็นหนึ่งในสิ่ง ก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย


 



  พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

     พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ เปิดให้สาธารณะชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็น พระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่งแอนทีออก ในปี พ.ศ. 2549 


 



 พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

     ต่อมาขอแนะนำให้คุณไปเยือน มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส (Cathédrale Notre-Dame de Paris) มหาวิหารที่ได้รับการขนานนามว่ามีความสวยงามที่สุดในแบบกอธิ คฝรั่งเศส โดยมหาวิหารตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ปัจจุบันมหาวิหารก็ยังใช้เป็นโบสถ์ของคริสตจักรโรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งอาสนะของอาร์ชบิชอปแห่ง ปารีสอีกด้วย  


 



มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส 

     จากนั้นขอแนะนำให้คุณไปเยือน จัตุรัสชาร์ล เดอ โกล (Place Charles de Gaulle) หรือในอดีต จัตุรัสแห่งดวงดาว (Place de l'Étoile) เป็นจัตุรัสที่มีชื่อเสียงและมี ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของกรุงปารีส ตรงกลางของจัตุรัสเป็นที่ตั้งของประตูชัยฝรั่งเศสอีกด้วย จัตุรัสชาร์ล เดอ โกลเป็นส่วนหนึ่งของแกนกลางอันเก่าแก่ (Axe historique) อันเลื่องชื่อของกรุงปารีส  


 



มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส 

     จัตุรัสชาร์ล เดอ โกล เป็นย่านการค้าที่ประกอบด้วยโรงละคร คาเฟ่ และร้านค้าหรูหรา สองข้างทางมีต้นเกาลัดที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามปลูกเรียงราย ชื่อ "ช็องเซลี เซ" มาจากคำว่า "ทุ่งเอลิเซียม" จากเทพปกรณัมกรีกในภาษาฝรั่งเศส


 



อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล หรือ ประตูชัยฝรั่งเศส

    ประตูชัยฝรั่งเศส ตั้งอยู่กลางจัตุรัสชาร์ล เดอ โกล (Place Charles de Gaulle) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม "จัตุรัสแห่งดวงดาว" (Place de l'Étoile) อยู่ทางทิศตะวันตก ของช็องเซลีเซ ประตูชัยแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการสดุดีวีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามนโปเลียน

มาการอง

มาการอง (Macarons)

มาการอง (Macarons)
มาการองนับเป็นขนมอบขึ้นชื่ออันดับหนึ่งของฝรั่งเศส ตัวขนมจะกรอบๆฟูๆจากอัลมอนด์บดผสมกับไข่ขาว และน้ำตาล มีไส้ต่างๆที่เป็นครีมหรือกานาช  แถมสีสันยังสดสวยเห็นแล้วดึงดูดใจ  ปัจจุบันมีการพัฒนาไส้ให้มีหลากรสชาติมากขึ้นกว่าในอดีต “อาทิ วานิลลา อัลมอนด์ ช็อกโกแลต เกาลัด สตรอเบอร์รี่ ผิวส้ม และมะนาว” บางร้านจะมีการคิดสูตรลับเฉพาะที่เน้นใช้วัตถุดิบแบบท้องถิ่นที่หาทานได้ยากจากที่อื่นๆ ด้วยรสชาติและสีสันที่สวยงาม บวกเข้ากับรสชาติที่อร่อย จนได้รับการยอมรับและกลายเป็นของฝากที่ไม่ว่าใครก็ถูกใจ

les fêtes françaises

les fêtes françaises 1.  Le Nouvel An : (le 31 décembre- le 1er janvier)       A minuit du 31 décembre, on réveillonne, on s’embrasse...